Website is currently maintenance.

ยินดีต้อนรับ

ห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มัลติมีเดีย อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี
เกี่ยวกับเรา

กำลังวิจัยอยู่ในปัจจุบัน

A Detection and Warning System of Malicious Applications on Mobile Devices

ระบบการตรวจจับและเตือนภัยแอปพลิเคชั่นอันตรายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

RESSEARCH for enhancing the learners' capability in performing arts by using dance notation

การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ศิลปะการแสดงโดยใช้โน้ตเต้น

ไฮไลท์กิจกรรม

ปฎิทิน & กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น

ไฮไลท์งานวิจัย

การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ศิลปะการแสดงโดยใช้โน้ตเต้น

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ เชิญสวัสดิ์ โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนโน้ตเต้น ซึ่งแนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก เป็นต้น ทางคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่า การที่เราจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรค์นี้ได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นได้ด้วยตนเอง และเครื่องมือเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างแบบเรียนโน้ตเต้นของท่าพื้นฐานได้ โครงการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 วัตถุประสงค์ 1) การพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ เพื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถนำโน้ตดังกล่าวไปใช้ในการเรียนการสอนได้ 2) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง และ 3) การประยุกต์ใช้โน้ตเต้นในการเรียนการสอนกระบี่ผ่านการใช้เครื่องมือการเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเองเครื่องมือในการเรียนการสอนโน้ตเต้นเป็นการสร้างแอนิเมชั่นจากโน้ตเต้น เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ตรงกับสัญลักษณ์ของแต่ละตัวโน้ต เครื่องมือนี้มีฟังก์ชันที่สำคัญคือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้าง ปรับแต่งโน้ตเต้น และแอนิเมชั่นที่สามารถสร้างขึ้นอย่างเรียลไทม์ เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้ นักเต้นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายและแปลงให้เป็น Labanotation ได้ นักเต้นที่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเขาและแปลงให้เป็น Labanotation เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้ ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้ระบบในการจัดทำสื่อการสอนได้ และนักออกแบบท่าเต้นที่สามารถใช้ระบบในการบันทึกความคิดเกี่ยวกับการออกแบบท่าเต้นสำหรับการแสดงได้ การนำเครื่องมือทั้งสองที่กล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้กับท่ารำไม้กระบี่ของไทย คณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาตัวละครและฉากหลังสำหรับการรำกระบี่ วิเคราะห์และศึกษาสัญลักษณ์โน้ตเต้นเพื่อประดิษฐ์สัญลักษณ์ที่เฉพาะสำหรับท่ารำไม้ เช่น สัญลักษณ์ของท่าถือกระบี่ เป็นต้น การนำสัญลักษณ์ของมือในนาฎศิลป์มาใช้ เช่น ตั้งวง จีบ เป็นต้น บทสรุปผู้บริหาร (Exclusive summary) สิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะของผู้เรียน ไม่เพียงแต่มุ่งให้ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การส่งเสริมการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์นี้ยังเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยที่จำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดรุ่นต่อรุ่น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียนด้วยศิลปะการรำ เช่น นาฏศิลป์ รำกระบี่ รำมวยไทย เป็นต้น นาฏศิลป์เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะของดนตรี โดยผู้เรียนใช้การจดจำท่ารำจากครูผู้สอนซึ่งสาธิตการขยับร่างกายเข้าจังหวะและให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผลของการเรียนรู้แบบนี้ขึ้นกับพรสวรรค์ของผู้เรียนและประสบการณ์ของครูผู้สาธิต เมื่อเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรี ผู้เรียนและผู้สอนใช้โน้ตดนตรีเป็นภาษากลางในการสื่อสารแทนการสาธิตเพียงอย่างเดียว การใช้โน้ตดนตรีจึงช่วยส่งสริมศักยภาพของผู้เรียนให้มีความสามารถทางดนตรีในระดับ สำหรับนาฏศิลป์แบบตะวันตก (เช่น บัลเลต์) ได้มีการคิดค้นโน้ตเต้นที่เรียกว่าลาบานโนเทชัน (Labanotation) หรือระบบลานเพื่อใช้ในการบันทึกท่าเต้นประกอบจังหวะ การเรียนการสอน และการออกแบบท่าเต้น เป็นต้น ข้อได้เปรียบของการใช้โน้ตเต้นคือ 1) การบันทึกท่ารำที่เป็นผลงานของผู้ประพันธ์และเป็นระบบมาตรฐานสากล 2) ผู้ประพันธ์สามารถสร้างสรรค์ผลงานและบันทึกลงในกระดาษ ซึ่งสะดวกกว่าการอัดวีดิทัศน์หรือวาดภาพประกอบ 3) ผู้แสดง (ผู้เต้นรำ) สามารถใส่ลูกเล่นเช่นเดียวกับการเล่นดนตรี ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงที่แตกต่างกันในการใช้โน้ตเต้นเดียวกัน และ 4) การอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการเต้นรำอย่างเป็นระบบมาตรฐานสากล แนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก และผู้เริ่มต้นเรียนโน้ตอาจเกิดความท้อแท้เพราะความซับซ้อนของโน้ตเต้น ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ ส่วนของร่างกายที่เคลื่อนไหว ระดับความสูงและทิศทางการเคลื่อนที่ของส่วนของร่างกาย จังหวะการเคลื่อนที่ (จังหวะต่อ 1 ห้องดนตรี) และระยะเวลาของท่าทางการเคลื่อนที่ ดังนั้นการเรียนโน้ตควรเริ่มต้นจาก การสอนท่าเต้นรำพร้อมแสดงตัวโน้ตกำกับเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยและตัวโน้ตแต่ละตัวพร้อมกับท่ารำประกอบ นอกจากนี้ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในช่วงเริ่มต้นของการบันทึกท่ารำด้วยโน้ตเต้น คือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้น และการบันทึกโน้ตเต้นของไทยไม่เป็นรูปแบบสากล งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้วย 1) การพัฒนาซอฟต์แวร์การสร้างโน้ตเต้นพื้นฐานจากข้อมูลโมชั่นแคปเจอร์อย่างอัตโนมัติ พร้อมๆกับ 2) การพัฒนาซอฟต์แวร์การเรียนรู้ท่ารำด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จดจำโน้ตเต้นและท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และ/หรือนำมาใช้ในชั้นเรียนประกอบการสอน และ3) การพัฒนาคู่มือการเรียนการสอนโน้ตเต้นควบคู่กับท่ารำไม้ (กระบี่) โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนโน้ตเต้น ซึ่งแนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก เป็นต้น ทางคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่า การที่เราจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรค์นี้ได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นได้ด้วยตนเอง และเครื่องมือเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างแบบเรียนโน้ตเต้นของท่าพื้นฐานได้ โครงการวิจัยนนี้แบ่งออกเป็น 3 วัตถุประสงค์ได้แก่ 1) การพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ เพื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถนำโน้ตดังกล่าวไปใช้ในการเรียนการสอนได้ 2) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง และ 3) การประยุกต์ใช้โน้ตเต้นในการเรียนการสอนกระบี่ผ่านการใช้เครื่องมือการเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง สำหรับวัตถุประสงค์แรก ทางผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ ที่ช่วยนักออกแบบท่าเต้นหรืออาจารย์ผู้สอนการเต้นสามารถสร้างโน้ตเต้น Labanotation จากข้อมูลการบันทึกความเคลื่อนไหวได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการจดบันทึกนำโน้ตเต้นจะเป็นการบันทึกลงกระดาษซึ่งต้องใช้ทักษะและระยะเวลาอย่างมาก องค์ประกอบที่เป็นนวัตกรรมของเครื่องมือนี้คือมีการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายและการแบ่งนับท่าทางต่างๆ เพื่อที่จะแปลงเป็นโน้ตเต้นที่สามารถนำมาใช้กับฮาร์ดแวร์ที่ราคาไม่สูงนักได้ ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการและคุณภาพของโน้ตเต้น Labanotation มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ ด้วยการที่ Labanotation มีความละเอียดไม่มาก ผู้ใช้แต่ละคนก็อาจตีความหมายของสัญลักษณ์ต่างกันไป เครื่องมือที่นำเสนอนี้มี Graphical User Interface (GUI) สำหรับตั้งค่าต่างๆ ให้กับผู้ใช้ได้ทำการตั้งค่าสัญลักษณ์ได้ เช่น เกณฑ์องศาที่กำหนด ทิศทางการเคลื่อนไหว และระดับในความสูง เช่นยกมือในระดับ สูง กลางและต่ำ คณะผู้วิจัยมีความมั่นใจว่าเครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้ 1) นักเต้นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายและแปลงให้เป็น Labanotation ได้ 2) นักเต้นสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเขาและแปลงให้เป็น Labanotation เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้ 3) ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้ระบบในการจัดทำสื่อการสอนได้ 4) นักออกแบบท่าเต้นที่สามารถใช้ระบบในการบันทึกความคิดเกี่ยวกับการออกแบบท่าเต้นสำหรับการแสดงได้ ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2 งานวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือการเรียนการสอนโน้ตเต้นด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ตรงกับสัญลักษณ์ของแต่ละตัวโน้ต เครื่องมือนี้มีฟังก์ชันที่สำคัญคือ GUI ที่ให้ผู้เรียนสามารถสร้าง ปรับแต่งโน้ตเต้น และดูแอนิเมชั่นที่สามารถสร้างขึ้นอย่างเรียลไทม์ โดยมีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญเหมาะกับผู้เริ่มเรียนโน้ตเบื้องต้นดังนี้ GUI สำหรับผู้ใช้ในการสร้างโน้ตเต้น โดยใช้เม้าส์ในการคลิก ลาก และขยายสัญลักษณ์โน้ตเต้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ง่ายและรวดเร็ว ซอฟต์แวร์นี้รองรับการสร้างโน้ตเต้นสำหรับนักแสดงหนึ่งคน โดยโน้ตเต้นที่ป้อนเข้าระบบอาจมาจากผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้นเอง หรือว่าได้จากซอฟต์แวร์การสร้างโน้ตอัตโนมัติ (ในวัตถุประสงค์ที่ 1 นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือนี้ให้รองรับกับท่ารำไม้กระบี่ของไทย โดยคณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาตัวละครและฉากหลังสำหรับการรำกระบี่ วิเคราะห์และศึกษาสัญลักษณ์โน้ตเต้นเพื่อประดิษฐ์สัญลักษณ์ที่เฉพาะสำหรับท่ารำไม้ เช่น สัญลักษณ์ของท่าถือกระบี่ เป็นต้น การนำสัญลักษณ์ของมือในนาฎศิลป์มาใช้ เช่น ตั้งวง จีบ เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้ 1) นักเรียนที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถดูแอนิเมชั่นจากตัวโน้ตที่ได้สร้างไว้ ซึ่งผู้ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจตัวโน้ตมากยิ่งขึ้น 2) ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ด้วยตนเองในการเรียนการสอนพื้นฐานโน้ตเต้นสากลกับการแสดงศิลปะการรำกระบี่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ด้วยตนเองใน การเรียนการสอนพื้นฐานโน้ตเต้นสากลกับการแสดงศิลปะการรำกระบี่ ในชั้นเรียนระหว่างกลุ่มผู้เรียนที่ได้เรียนรู้โดยใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การได้มาของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คณะผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกจากความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรมโดยมีเกณฑ์การคัดนิสิตที่จะเก็บผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการทดลองออกไปโดยมีเกณฑ์การคัดนักศึกษาเพื่อเก็บผลลัพธ์การเรียนรู้ไปใช้ในการทดลองดังนี้ 1) เป็นนิสิตเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่จะต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาคการศึกษาที่ 1 2) มีผลการทดสอบผลลัพธ์ทางการเรียนด้านทักษะกีฬากระบี่ครบทุกรายการทั้งก่อนและหลังการทดลอง 3) สำหรับกลุ่มทดลองมีคลิปวิดีโอการแสดงทักษะกีฬากระบี่ที่มอบหมายครบตามจำนวนข้อที่ระบุไว้ในแบบทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับผลการเรียนรู้ตัวโน้ต มีดังนี้ ผู้เรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 147.5 เมื่อใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ตัวโน้ต (คะแนนเฉลี่ยก่อน 3.83 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลัง 9.49 คะแนน โดยได้คะแนนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 5.67 คะแนน) ผู้เรียนสามารถเขียนตัวโน้ตพื้นฐานได้ในเกณฑ์ พอใช้ 8%, ดี 30% และ ดีมาก 42% สำหรับผลการเรียนรู้ทักษะกระบี่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ท่ารำกระบี่และไม่เคยเรียน 85% ผู้เรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 122.8 เมื่อใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ตัวโน้ต (คะแนนเฉลี่ยก่อน 1.30 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลัง 2.9 คะแนน ได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1.5 คะแนน) ผู้เรียนสามารถเข้าใจตัวโน้ตของท่ารำกระบี่ได้ในเกณฑ์ เขียนตัวโน้ตพื้นฐานได้ในเกณฑ์ นักศึกษาสามารถเข้าใจท่าพื้นฐาน 67% ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยต่อเนื่องนั้นมีทิศทางในการวิจัย 2 ทิศทาง ดังนี้ 1) การขยายระบบให้รองรับสัญลักษณ์ Labanotation ได้มากขึ้น และจัดทำการประเมินอย่างละเอียดในระดับที่กว้างขึ้น 2) การประยุกต์ใช้ระบบที่นำเสนอนี้ไปใช้กับการบันทึกสัญลักษณ์การเต้นรำแบบอื่นด้วย เช่น การจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยระบบเบเนช (Benesh Notation เป็นระบบโน้ตเต้นที่ใช้กับการเต้นบัลเลต์) เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายได้มากขึ้นและทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวทั้งสองระบบ แต่ในการเปรียบเทียบนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะกลุ่มผู้ใช้ที่มีความคุ้นเคยกับทั้งสองระบบมีน้อยมากและไม่ค่อยพบมากนัก โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายชุมชนและสังคม (สกว.) และ สำนักคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใน ปี 2558

Research Project on Cybersecurity

Research Project on Cybersecurity 1. Detection and monitoring malicious applications on android mobile devices (funding by the national broadcasting and telecommunication commission : NBTC during 2016-2017) a. Static analysis for malware detection by using machine learning b. Behavioral detection of malicious code on mobile operating systems 2. Virtual learning center of cyber-securities awareness for home-users (funding by the national broadcasting and telecommunication commission : NBTC in 2017) a. Extracting information approach from on-line news b. Web-based retrieval systems for on-line news c. Web-based training systems for cyber-securities awareness d. Game-based learning environment for children and youth e. Information Visualization of cyber-crimes Research Detail: 1. Detection and monitoring malicious applications on android mobile devices (funding by the national broadcasting and telecommunication commission : NBTC during 2016-2017) a. Static analysis for malware detection by using machine learning This research focuses on a model for malware detection on mobile operating system based on machine learning technique. The objective is to reduce the risk of installing harmful application when the user did not update the anti-virus program in time. The proposed model is different to other anti-virus is that most of anti-virus software used virus signature to identify malware. However, the virus signature-based detection approach requires frequent updates of the virus signature dictionary. The signature-based approaches are not effective against new, unknown viruses while the proposed model based on machine learning can detect new malware even some parts of the code have been modified. b. Behavioral detection of malicious code on mobile operating systems This research focuses on earlier approaches for dynamic analysis of application behavior as a means for detecting malware in the Android platform. The detector is embedded in an overall framework for collection of traces from an unlimited number of real users based on crowdsourcing. Our framework has been demonstrated by analyzing the data collected in the central server using two types of data sets: those from artificial malware created for test purposes, and those from real malware found in the wild. 2. Virtual learning center of cyber-securities awareness for home-users a. Extracting information approach from on-line news In many real-world scenarios, the ability to automatically classify documents into a fixed set of categories is highly desirable. Common scenarios include classifying a large amount of unclassified archival documents such as newspaper articles, legal records and academic papers. For example, newspaper articles can be classified as ‘crimes’, ‘cyber-crimes’, ’features’, ’sports’ or ’news’. Other scenarios involve classifying of documents as they are created. Examples include classifying movie review articles into ’positive’ or ’negative’ reviews or classifying only blog entries using a fixed set of labels. Natural language processing offers powerful techniques for automatically classifying documents. These techniques are predicated on the hypothesis that documents in different categories distinguish themselves by features of the natural language contained in each document. Salient features for document classification may include word structure, word frequency, and natural language structure in each document. This project looks specifically at the task of automatically classifying newspaper articles in “cyber-crimes” from news feeds. b. Web-based retrieval systems for on-line news This project discusses a system for online new event detection in the domain of news articles on the web. This area is related to the Topic Detection and Tracking initiative. We evaluate two benchmark systems: The first like most current web retrieval systems, relies on term repetition to calculate document relatedness. The second attempts to perform conceptual indexing through the use of the WordNet thesaurus software. We propose a novel approach for the identification of breaking news stories, which uses a technique called lexical chaining. We believe that this technique will improve the overall performance of our web retrieval system by allowing us to encapsulate the context surrounding a word and disambiguate its senses. c. Web-based training systems for cyber-securities awareness Web-based training (sometimes called e-learning) is anywhere, any-time instruction delivered over the Internet to browser-equipped learners. There are two primary models of Web-based instruction: synchronous (instructor-facilitated) and asynchronous (self-directed, self-paced). Instruction can be delivered by a combination of static methods (learning portals, hyperlinked pages, screen cam tutorials, streaming audio/video, and live Web broadcasts) and interactive methods (threaded discussions, chats, and desk-top video conferencing). d. Game-based learning environment for children and youth A new interest in the use of games for learning has emerged, and a number of claims are made with respect to the effectiveness of games in education. These educational games are considered as new instructional technology with great potential. The suggested positive outcomes and effects have been mentioned repeatedly. In this project, the educational game for teaching how to use Internet and playing social network are studied and developed in order to gain more insights into the conditions under which a game may be effective for learning. A systematic literature search in three databases was conducted. Some studies reported a positive effect on learning and motivation, but this is moderated by different learner variables and depends on different context variables. Next to this, the effectivity research on game-based learning is highly susceptible to a muddle of approaches, methodologies, and descriptions of gaming for educational purposes. e. Information Visualization of cyber-crimes Information visualization or information visualization is the study of (interactive) visual representations of abstract data to reinforce human cognition. The abstract data include both numerical and non-numerical data, such as text and geographic information. The field of information visualization has emerged "from research in human-computer interaction, computer science, graphics, visual design, psychology, and business methods. This project focuses on displaying the statistics of cyber-crimes in a way of interesting presentation to audiences.

การตรวจจับโค้ดที่เป็นอันตรายบนระบบปฏิบัติการมือถือ

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการใช้แบบจำลองการตรวจจับโค้ดอันตรายบนระบบปฏิบัติการของมือถือ โดยใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ของเครื่องมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของผู้ใช้ที่ไม่ได้อัพเดตโปรแกรมแอนติไวรัสทันเวลา ซึ่งแบบจำลองที่ได้นำเสนอนี้ต่างจากโปรแกรมแอนติไวรัส ทั่วไปตรงที่ โปรแกรมแอนติไวรัสทั่วไปนิยมใช้หลักการของการตรวจจับรูปแบบสายอักษรที่เฉพาะเจาะจงที่ฝังในโปรแกรมเพื่อระบุว่าโปรแกรมนั้นอันตรายหรือไม่ แต่หลักการของการตรวจจับรูปแบบสายอักษรที่เฉพาะเจาะจงนั้น ทุกๆครั้งที่มีไวรัสหรือโค้ดอันตรายตัวใหม่ขึ้นมา ผู้ใช้จำเป็นต้องอัพเดตโปรแกรมแอนติไวรัสเสมอ ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่ผู้ใช้พลาดการอัพเดตให้ทันเวลาก็จะตกเป็นเป้าของไวรัสตัวใหม่เสมอ ในขณะที่แบบจำลองที่นำเสนอได้ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง ในการรู้จำกลุ่มของโค้ดอันตรายทำให้ยังคงตรวจจับโค้ดอันตรายได้ถึงแบบว่าโค้ดอันตรายตัวใหม่ได้มีรูปแบบแตกต่างไปบ้างก็ตาม ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยเริ่มจาการ (1) รวบรวมแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทั้งแอปพลิเคชันปกติและแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย (2) การสกัดคุณลักษณะ โดยวิเคราะห์การกระจายตัวของความถี่ของไบต์เอ็นแกรม ค่าความถี่ของเทอมและค่าความผกผันของเทอม ซึ่งในงานวิจัยนี้ n มีค่าเท่ากับ 3 (3) สร้างโมเดลของการจำแนกโค้ดอันตรายจากใช้คุณลักษณะที่ได้ทั้งในส่วนของแอปพลิเคชันปกติและแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย ในการทดลองได้ใช้โค้ดอันตรายจำนวน 304 โค้ด และโค้ดปกติจำนวน 553 โค้ด สำหรับการสร้างโมเดลของการจำแนกโค้ดอันตราย และสำหรับการทนต่อโค้ดอันตรายใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล พบว่าโมเดลที่ได้นำเสนอนั้นมีร้อยละความแม่นยำมากกว่า 85.52 ในขณะที่ร้อยละค่าความไว และร้อยละความจำเพาะมีค่าเท่ากับ 71.26 และ 90.52 ตามลำดับ โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใน ปี 2556

ไฮไลท์ผลงาน

School Bus Platform for Integrating in a School Van to Avoid Trapped Kindergarten Students.

2022-08-21 09:50:53

เนื้อหา:

ผู้แต่ง: Bandit Tirasatian,Arthikhun Rattanaprueksachart,Worawat Choensawat,Kingkarn Sookhanaphibarn

บทคัดย่อ: In this paper, we present a use of the current technology to solve a problem of the child being left in a school bus by using a Bluetooth Low Energy (BLE) device to check aboard passengers and installing a Raspberry Pi with a camera and a mic in the vehicle. All devices are connected via a mobile application developed with the following features such as location status tracking, passenger monitoring, warning notification.

ลิงก์: https://ieeexplore.ieee.org/document/9754958

การอ้างอิง: M. Amrutha, B. Deeksha and A. Shilpa Shetty, "Iot based school bus tracking system", International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET, pp. 435-438, 2019.

การอ้างอิง: A. Vishwakarma, A. Jaiswal, A. Neware, S. Ghime, A. Marathe and R. Deshmukh, "Gps and rfid based intelligent bus tracking and management system", International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET), vol. 3, no. 3, 2016.

การอ้างอิง: X. Feng, J. Zhang, J. Chen, G. Wang, L. Zhang and R. Li, "Design of intelligent bus positioning based on internet of things for smart campus", IEEE Access, vol. 6, pp. 60005-60015, 2018.

อ่านเพิ่มเติม

Smart School Bus.

2022-08-21 09:47:59

เนื้อหา: การขนส่งมวลเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ในประเทศที่พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ได้มาตรฐาน แม้ผู้ใช้งานจะเป็นเด็ก, คนพิการ หรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ในปัจจุบันขนส่งมวลชนของประเทศไทยยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาและพบเจอกับปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านเวลา ด้านความทั่วถึง เป็นต้น จากปัจจัยข้างต้นโดยเฉพาะด้านความปลอดภัยทำให้ตัวเลือกในการเดินทางไปสถานศึกษาของนักเรียนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา มีตัวเลือกไม่มากนัก เช่น ผู้ปกครองไปรับ-ไปส่ง หรือ ใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนที่มีบุคคลคอยดูแล ซึ่งบริการรถรับ-ส่งในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรถตู้หรือรถกระบะเสริมหลังคา ทำให้มีผู้ปกครองจำนวนมากที่ยังมีความกังวลในการใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนของไทยเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลจากการรวบรวมข่าวและสถิติของกรมควบคุมโรคตั้งแต่ปี 2557–2563 มีเด็กถูกลืมไว้ในรถมากกว่า 129 เหตุการณ์ มีเด็กที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 6 ราย โดยเด็กที่เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ย 2–6 ปี อีกทั้งด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย หากจอดรถทิ้งไว้กลางแดด เพียง 30 นาที อวัยวะทุกอย่างจะเริ่มหยุดทำงานและอาจเสียชีวิตได้ แต่เวลาเฉลี่ยในการเจอเด็กหลังถูกลืมอยู่ที่ 6 ชั่วโมง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เมื่อศึกษาลงรายละเอียดในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นจะพบว่ามักเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์แม้ว่าจะมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติตามมาตราการป้องกันอย่างเข้มงวดก็ตาม อีกทั้งรถรับ-ส่งนักเรียนของส่วนใหญ่ของไทยจะมีมุมอับ ที่เสี่ยงต่อการลืมเด็กได้ง่าย เช่น แถวหลังที่สุดของรถตู้ หรือ ที่นั่งหลังคนขับของรถกระบะ ในโปรเจคนี้เราต้องการนำเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและลดการเกิด Human Error โดยมีจะการใช้อุปกรณ์ประเภท Bluetooth Low Energy(BLE) ในการตรวจเช็คผู้โดยสาร และติดตั้งบอร์ด Raspberry Pi ที่มีกล้องและไมค์ในรถตู้ เพื่อใช้ในตรวจจับการเคลื่อนไหว ตรวจจับเสียง และใช้ในการถ่ายภาพเหตุการณ์ภายในรถ โดยทั้งหมดเชื่อมต่อกันผ่าน Mobile Application ที่พัฒนาขึ้นโดยมีฟังก์ชันสำคัญต่าง ๆ เช่น ติดตามสถานะ, รูปถ่ายในรถ, การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อ ทั้งหมดเพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของงานวิจัย ในการสร้างมาตรฐานใหม่ของรถรับ-ส่งนักเรียนเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็ก สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน

ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

บทคัดย่อ: การขนส่งมวลเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ในประเทศที่พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ได้มาตรฐาน แม้ผู้ใช้งานจะเป็นเด็ก, คนพิการ หรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ในปัจจุบันขนส่งมวลชนของประเทศไทยยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาและพบเจอกับปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านเวลา ด้านความทั่วถึง เป็นต้น จากปัจจัยข้างต้นโดยเฉพาะด้านความปลอดภัยทำให้ตัวเลือกในการเดินทางไปสถานศึกษาของนักเรียนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา มีตัวเลือกไม่มากนัก เช่น ผู้ปกครองไปรับ-ไปส่ง หรือ ใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนที่มีบุคคลคอยดูแล ซึ่งบริการรถรับ-ส่งในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรถตู้หรือรถกระบะเสริมหลังคา ทำให้มีผู้ปกครองจำนวนมากที่ยังมีความกังวลในการใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนของไทยเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลจากการรวบรวมข่าวและสถิติของกรมควบคุมโรคตั้งแต่ปี 2557–2563 มีเด็กถูกลืมไว้ในรถมากกว่า 129 เหตุการณ์ มีเด็กที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 6 ราย โดยเด็กที่เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ย 2–6 ปี อีกทั้งด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย หากจอดรถทิ้งไว้กลางแดด เพียง 30 นาที อวัยวะทุกอย่างจะเริ่มหยุดทำงานและอาจเสียชีวิตได้ แต่เวลาเฉลี่ยในการเจอเด็กหลังถูกลืมอยู่ที่ 6 ชั่วโมง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เมื่อศึกษาลงรายละเอียดในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นจะพบว่ามักเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์แม้ว่าจะมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติตามมาตราการป้องกันอย่างเข้มงวดก็ตาม อีกทั้งรถรับ-ส่งนักเรียนของส่วนใหญ่ของไทยจะมีมุมอับ ที่เสี่ยงต่อการลืมเด็กได้ง่าย เช่น แถวหลังที่สุดของรถตู้ หรือ ที่นั่งหลังคนขับของรถกระบะ ในโปรเจคนี้เราต้องการนำเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและลดการเกิด Human Error โดยมีจะการใช้อุปกรณ์ประเภท Bluetooth Low Energy(BLE) ในการตรวจเช็คผู้โดยสาร และติดตั้งบอร์ด Raspberry Pi ที่มีกล้องและไมค์ในรถตู้ เพื่อใช้ในตรวจจับการเคลื่อนไหว ตรวจจับเสียง และใช้ในการถ่ายภาพเหตุการณ์ภายในรถ โดยทั้งหมดเชื่อมต่อกันผ่าน Mobile Application ที่พัฒนาขึ้นโดยมีฟังก์ชันสำคัญต่าง ๆ เช่น ติดตามสถานะ, รูปถ่ายในรถ, การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อ ทั้งหมดเพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของงานวิจัย ในการสร้างมาตรฐานใหม่ของรถรับ-ส่งนักเรียนเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็ก สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน

อ่านเพิ่มเติม

Voice Recognition for detecting trapped kindergarden students in school bus

2022-08-21 09:45:56

เนื้อหา: โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการตรวจจับมัลแวร์ที่ฝังตัวกับแอปพลิเคชั่นปกติ ซึ่งจะไม่แสดงพฤติกรรมที่น่าสงสัยและเป็นอันตรายในตอนต้น และเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจจับโค้ดอันตรายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีเหตุการณ์การเสียชีวิตของเด็กจากการออกจากเด็กในรถส่งของผู้ดูแล ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น การยึดซึ่งเกิดขึ้นมากที่สุด มักพบในเด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี ขณะนอนหลับในรถตู้และถูกละเลยโดยการตรวจสอบบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เด็กติดอยู่ในรถตู้ เราจึงมองเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ปัญหาการลืมเด็กในรถตู้โดยใช้ AI ตรวจจับ ความผิดปกติ ที่เกิดจากเสียงภายในรถโดยสาร ผลงานก่อนหน้านี้บางส่วนได้ทำการทดลองเกี่ยวกับ การตรวจจับเสียงร้องไห้ของทารก

ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

อ่านเพิ่มเติม

Aircraft Quest

2022-08-21 09:44:00

เนื้อหา: โครงการวิจัยนี้ เป็น Web application ตอบคำถามที่มุ่งเน้นการเรียนรู้อากาศยาน ที่สามารถเรียนรู้และสนุกร่วมกับผู้อื่นได้

ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

อ่านเพิ่มเติม

Aircraft Viewer

2022-08-21 09:41:47

ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

อ่านเพิ่มเติม